ประชาสัมพันธ์

โครงการ ปรับปรุง-ต่อเติมหลังคา อาคารสำนักงานบริหารการวิจัย วัตกรรมและการสร้างสรรค์

ประกาศเผยแพร่แผน ดาวน์โหลดได้ที่นี่

เอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิก (e-bidding) ดาวน์โหลดได้ที่นี่

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาจ้างก่อสร้างปรับปรุง-ต่อเติมหลังคา ด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ดาวน์โหลดได้ที่นี่

รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย เข้าร่วมการประชุม “การนำเสนอข้อมูลความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระดับพื้นที่กลุ่มภาคกลาง”

รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย

เข้าร่วมการประชุม

“การนำเสนอข้อมูลความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ 

วิจัยและนวัตกรรมระดับพื้นที่กลุ่มภาคกลาง”
จัดโดยศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) 

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมคาลิปโซ่ อาคาร A ณ โรงแรม เดอะ คาวาริ คาซ่า รีสอร์ท

ตำบลบ้านแก้ว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น. มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

     วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 น.
มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย ร่วมประชุมกับคณะทำงานโครงการ สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพสถาบันอุดมศึกษา

เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Reinventing University for SDGs กับ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย อาจารย์นันทินี มาลานนท์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อาจารย์มาลัยแก้ว รังสีสุริยันต์ ที่ปรึกษาโครงการ อาจารย์ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์ ที่ปรึกษาโครงการ และคณะทำงานโครงการ เพื่อรับทราบแนวคิดและกระบวนการดำเนินงานของโครงการ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานะปัจจุบันของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัย และหารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกันต่อไป ณ ห้องประชุมสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

ขอเชิญยื่นข้อเสนอโครงการจ้างเหมาดำเนินโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า สาขาธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปมูลค่าสูง

ขอเชิญยื่นข้อเสนอโครงการจ้างเหมาดำเนินโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า สาขาธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปมูลค่าสูงในการผลิตและส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณภาพสูง และสาขาธุรกิจนวัตกรรมด้านความมั่นคงทางอาหาร(ครั้งที่ 2/2565) สิ่งที่ส่งมาด้วย ดาวน์โหลดที่นี่

ประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการ ปี 2566

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2566

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 – 30 ต.ค. 65 ภายในเวลา 16.30 น. โดยกรอกข้อมูลผ่านทาง www.thaimediafund.or.th

👉 ดาวน์โหลดได้ที่นี่

รัฐบาลอินเดียประกาศรับสมัครทุน India Science and Research Fellowship (ISRF) เพื่อศึกษาในระดับปริญญาเอก จำนวน 10 ทุน

                  รัฐบาลอินเดียประกาศรับสมัครทุน India Science and Research Fellowship (ISRF) 2022-2023 ให้แก่นักนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ บุคลากร และนักศึกษา โดยผู้สนใจสมัครรับทุน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ dst.gov.in/call-for-proposals  และหากมีคุณสมบัติตรงตามที่รัฐบาลอินเดียกำหนดสามารถดำเนินการสมัครได้ โดยส่งเอกสารพร้อมยื่นหนังสือเสนอชื่อจากหน่วยงานต้นสังกัดมายัง กองการต่างประเทศ สป.อว. (ชั้น ๑๒) เลขที่ ๓๒๕ ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ 

                   ภายในวันจันทร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕   พร้อมส่งชุดสำเนาเอกสารใบสมัครพร้อมหลักฐานการสมัครในรูปแบบไฟล์ PDF มาที่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ plaiphan.s@mhesi.go.th 

Sri Lanka Technilogical Campus (SLTC) Research University ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อผลงานวิจัย และเข้าร่วมการประชุม ในหัวข้อ “Technological Advancement for Sustainability”

        Sri Lanka Technilogical Campus (SLTC) Research University ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อผลงานวิจัย และเข้าร่วมการประชุมระดับนานาชาติ 

ในหัวข้อ “Technological Advancement for Sustainability” ระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2565 ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถส่งบทคัดย่องานวิจัยพร้อม

เอกสารประกอบต่างๆได้ที่  https://easychair.org/conferences/?conf=irc2022 และลงทะเบียนที่ Irc2022.sltc.ac.lk ภายในวันที่ 15 กันยายนนี้

ขอเชิญส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนักบริหาร

👉ขอเชิญส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนักบริหาร

👉ด้วยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้จัดทำวารสารนักบริหาร เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในรูปแบบบทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ การบัญชี การตลาด การบริหารเชิงกลยุทธ์ การท่องเที่ยว การบริหารจัดการโรงแรม การสื่อสาร กฎหมาย และสังคมวิทยา โดยมีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ คือ ม.ค. – มิ.ย. และ ก.ค. – ธ.ค. ปัจจุบันวารสารฯ อยู่ในฐานข้อมูลของ TCI กลุ่มที่ 1 และอยู่ในฐานข้อมูล ACI

👉ผู้สนใจ สามารถส่งบทความได้ทางเว็บไซต์ 👉   ได้ที่นี่

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์อารีรัตน์ สุจิรปัญญา อีเมล areerat.su@bu.ac.th โทรศัพท์ 02 407 3888 ต่อ 2818

ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สีฝุ่นธรรมชาติ” ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการอนุรักษ์สืบสานจิตรกรรมไทยเทคนิคสีฝุ่น ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สีฝุ่นธรรมชาติ” ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการอนุรักษ์สืบสานจิตรกรรมไทยเทคนิคสีฝุ่น ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญ มุกดามณี คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง (ศิลปินแห่งชาติ) บรรยายพิเศษกล่าวถึงความสำคัญและทิศทางในการอนุรักษ์สู่โครงการวิจัยฯ พร้อมทั้งเขียนภาพสดด้วยสีฝุ่นธรรมชาติ

ในวันที่ 10 กันยายน 2565
ณ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ

 

โครงการวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมการอนุรักษ์สืบสานจิตรกรรมไทยเทคนิคสีฝุ่นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์” เป็นโครงการบูรณาการที่ได้รับทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยทีมผู้วิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุวัฒน์ ลัดดาวัลย์ จากคณะจิตรกรรมฯ
รองศาสตราจารย์วิรัญญา ดวงรัตน์ จากคณะจิตรกรรมฯ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธินี เกิดเทพ จากคณะวิทยาศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ เทพศุภรังษิกุล จากคณะวิทยาศาสตร์
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้จาก “สีฝุ่นธรรมชาติ” นำเสนอประวัติศาสตร์ กระบวนการสกัดสีฝุ่น กาวเมล็ดมะขาม และรองพื้นแบบไทยแนวประเพณี … นำกระบวนการวิทยาศาสตร์มาเพื่อเรียนรู้วิธีการทำงานของครูช่างโบราณ … ต่อ

ยอดสู่ “วิธี” ทำงานศิลปะด้วยสีฝุ่นในยุคปัจจุบัน