ประชุมอบรมภายใน

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประเมินผลกระทบทางสังคมและการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ (Roadmap to Success)” ณ ห้องประชุม 104 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

เมื่อวันเสาร์ที่ 25 – วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2567 เวลา 8.30 – 17.00 น. สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประเมินผลกระทบทางสังคมและการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ(Roadmap to Success)” ณ ห้องประชุม 104 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA)และการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) สามารถวัดผลทางสังคมจากโครงการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯโครงการได้รับเกียรติจาก นายเศรษฐภูมิ บัวทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย และพัฒนาเครื่องมือด้านการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI TU) วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ เป็นวิทยากรบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยคณาจารย์ นักวิจัย ที่ได้รับทุนวิจัยจากสาขาวิชาด้านทัศนศิลป์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จากภายในและภายนอกจำนวน 6 โครงการ

ขอเชิญคณาจารย์และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

พัฒนาศักยภาพผู้ประเมินโครงการวิจัยที่ยื่นขอการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ประจำปี 2567

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2567 เวลา 9.00 – 16.00 น.

ณ สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์

หัวข้อที่บรรยาย

  • บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
  • แนวทางการทบทวนโครงการวิจัย
  • การพิจารณาส่วนแก้ไขเพิ่มเติมโครงการวิจัย

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการอบรม

  • ผู้เข้าร่วมการอบรมต้องเคยได้รับการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือ GCP หรือ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

เงื่อนไขในการได้รับใบประกาศนียบัตร

  • ผู้เข้าร่วมการอบรมต้องเข้ารับการอบรมทุกหัวข้อ
  • ผู้เข้าร่วมการอบรมต้องส่งแบบประเมินความพึงพอใจ

ปิดรับลงทะเบียน วันที่ 7 มิถุนายน 2567

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณพัชรณัฏฐ์, คุณวารี, คุณตปนีย์ โทร 098-5479738 หรือ 216004 (ในเวลาราชการ)

เชิญเข้าร่วมโครงการอบรม เรื่อง“การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานสากล”

📌ขอเชิญคณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายโครงการอบรม เรื่อง“การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานสากล” 🗓วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ⏰เวลา 09.30-15.00 น. 🎥ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยสมัครลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2567 (เวลา 12.00 น.)

  1. สมัครได้ที่ลิ้งค์ https://forms.gle/8nxTUrWDCGs4wQ9q9 หรือ QR Code ตามโปสเตอร์ด้านล่าง

2.เอกสารโครงการและกำหนดการ คลิกที่นี้

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนโครงการวิจัยเพื่อนำนวัตกรรมองค์ความรู้มาต่อยอดและขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพานิชย์”

📢วันเสาร์ที่ 11 และวันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2567

🍀รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ประธานคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนโครงการวิจัยเพื่อนำนวัตกรรมองค์ความรู้มาต่อยอดและขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพานิชย์” ซึ่งในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมนมาลย์ เนียมหลาง รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองศาสตราจารย์ ดร.อนินท์ มีมนต์ อาจารย์ ดร.วลัญช์รัก พุ่มชลิต และรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

📍โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันการศึกษาในเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง รวมถึงผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

ขอเชิญคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร และเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง

เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การถอดบทเรียนเพื่อจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)ของโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ ”

โดย รองศาสตราจารย์ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ

วันเสาร์ที่ 1 – วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30-17.00 น.

ณ ไม้แก้ว ดำเนิน รีสอร์ท อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

  1. เป็นบุคลากรในสถาบันการศึกษาเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง
  2. มีงานวิจัยเชิงพื้นที่ที่ดำเนินการเสร็จสิ้น 80% ขึ้นไป ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 11 จังหวัด
  3. มีทีมวิจัย ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่เกิน 4 คน ที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เต็มเวลา

(หากยกเลิกการเข้าร่วม จะต้องเสียค่าใช้จ่าย คือค่าที่พัก และค่าอาหารให้กับเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง)

  1. หากเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง จะได้รับการพิจรณาเป็นพิเศษ หมายเหตุ :

*เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง จะสนับสนุนเฉพาะค่าที่พักและค่าอาหารในโครงการ

*รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนจำกัด

*ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเข้าร่วมการอบรมเชิงปฎิบัติการ ผ่าน zoom meeting ในวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567 เวลา 8.30-16.00 น.

ดาวน์โหลดโครงการและกำหนดการได้ที่นี่

ปิดรับสมัคร ภายในวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.00 น.

ติดต่อสอบถามได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 061-6284101 (เวลาราชการ) หรือ อีเมล thaiwest.su@gmail.com

จัดโดย เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง และสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

📢✨ขอเชิญคณาจารย์ และนักวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง

เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนโครงการวิจัยเพื่อนำนวัตกรรม องค์ความรู้มาต่อยอดและขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์”

🍀โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุมนมาลย์ เนียมหลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณะ

📍วันเสาร์ที่ 11 – วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2567
🕐เวลา 8.30-17.00 น.
🏫ณ โรงแรมริเวอร์ตัน ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

📌💫คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

  1. เป็นบุคลากรในสถาบันการศึกษาเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง
  2. มีงานวิจัย พร้อมต่อยอดร่วมกับผู้ประกอบการ ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 11 จังหวัด (หากมีความร่วมมือกับผู้ประกอบการแล้วจะพิจารณาเป็นพิเศษ)
  3. มีทีมวิจัย ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่เกิน 4 คน ที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เต็มเวลา (หากยกเลิกการเข้าร่วม จะต้องเสียค่าใช้จ่าย คือ ค่าที่พัก และค่าอาหารให้กับเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง)
  4. หากเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

❗️หมายเหตุ :
*เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง จะสนับสนุนเฉพาะค่าที่พักและค่าอาหาร
*รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนจำกัด

📲สมัครได้ที่ https://forms.gle/gw6AYbAZGbnFcrSbA
ปิดรับสมัคร ภายในวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.00 น.

☎️ติดต่อสอบถามได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 061-6284101 (เวลาราชการ) หรือ อีเมล thaiwest.su@gmail.com

จัดโดย เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง และ สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และนักวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบทางสังคมและการประเมิน ผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ (Roadmap to Success)

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ.2567 เวลา 8.30 – 12.00 น.
รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และนักวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้าร่วม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินผลกระทบทางสังคมและการประเมิน ผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ (Roadmap to Success)
เพื่อรับทราบแนวทางการประเมินSROIของโครงการวิจัยและการจัดเตรียมข้อมูลการประเมิน SROIของโครงการวิจัย
ผ่านระบบ Zoom meeting

ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมโครงการการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของโครงการวิจัย เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ (Roadmap to Success)

❇️❇️❇️สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมโครงการการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของโครงการวิจัย เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ (Roadmap to Success)

🔅วิทยากร นายเศรษฐภูมิ บัวทอง และคณะวิทยากรกระบวนการ

นางสาวนูรีมะห์ ลูดิง นางสาวอุมัยย๊ะ ลูดิง นายเสกสรรค์ ว่องวัฒนาศิลป์ นางสาวอาซีม๊ะ ดามาลอ

วันเสาร์ที่ 25 – วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2567 เวลา 8.30 -16.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ

เงื่อนไขโครงการวิจัยที่จะสมัครเข้ารับคัดเลือกร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ต้องเป็นโครงการวิจัยที่หัวหน้าโครงการเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร

  1. เป็นโครงการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และคาดว่ามีผลกระทบทางสังคม
    และเศรษฐกิจ
  2. เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณ 1,000,000 บาท ขึ้นไป
  3. หากโครงการวิจัยมีนักวิจัยที่เคยผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมิน
    ผลกระทบทางสังคม (SIA) และการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) มาก่อนจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  4. นักวิจัยของโครงการวิจัยที่สมัครเข้าร่วมการประชุม ต้องเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ แบบ On site ที่ ห้องประชุมชั้น 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ได้ทั้ง 2 วัน และนำเสนอผลการประเมิน SIA และ SROI ผ่านระบบ Online Zoom Meeting ในวันที่สำนักงานบริหารการวิจัยฯ กำหนด
    รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันพุธที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 16.00 น.
    หมายเหตุ
    นักวิจัยของโครงการต้องเข้าร่วมฟังการชี้แจงการกรอกใบงานตามแบบฟอร์ม
    ที่กำหนดผ่านระบบ Online Zoom Meeting ในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567
    เวลา 8:30-12:00 น. เพื่อคัดเลือกนักวิจัยเข้าร่วมโครงการฯ
    สมัครได้ที่ https://forms.gle/UnnaFxt3SM93Z6Fu9
    📞✅สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานบริหารการวิจัยฯ เบอร์ภายใน 216005 หรือเบอร์ภายนอก 0616284101

6 ธ.ค. 66 โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยฯ เรื่อง แนวทางการรับทุน Fundamental Fund ประจำปี 2567

สำนักงานบริหารการวิจัยฯ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นกลาง กลุ่มวิจัยของมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง “แนวทางการรับทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” โดย รศ.ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย กล่าวต้อนรับ และบรรยาย หัวข้อ การบริหารการรับทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้นักวิจัยที่ได้รับทุนดังกล่าว รับทราบกระบวนการหลังได้รับทุน และแนวปฏิบัติระเบียบข้อปฏิบัติต่าง ๆ ทางการเงิน เพื่อให้สามารถดำเนินงานวิจัยได้อย่างถูกต้อง ตรวจสอบได้ และตรงตามหลักเกณฑ์ของแหล่งทุน โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารการวิจัยฯ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตอบประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยฯ เรื่อง “การเขียนงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการวิจัย

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 น. สำนักงานบริหารการวิจัยฯ จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นกลาง กลุ่มวิจัยของมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง “การเขียนงบประมาณและการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการวิจัย โดย รศ. ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย กล่าวเปิดโครงการ และบรรยายโดย รศ. ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัยฯ (documents) โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารการวิจัยฯ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตอบประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเขียนงบประมาณ และการเบิกจ่ายเงิน