ประชุมวิชาการ

ขอเชิญร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)” จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานในระบบวิจัยทั่วประเทศ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานในระบบวิจัยทั่วประเทศ ขอเชิญร่วมงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)” ภายในงานดังกล่าวพบกับนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม และกิจกรรมเกี่ยวกับการวิจัยที่น่าสนใจอีกมากมาย

โดยในงานนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคนิทรรศการ เรื่อง ““ผีอาเซียน” จากจักรวาลผีสู่จักรวาลนฤมิต : การแปรรูปทุนทางวัฒนธรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ภายใต้กลุ่ม “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างพลังสร้างสรรค์ Soft Power ของประเทศ”

ตั้งแต่วันที่ 26 – 30 สิงหาคม 2567
ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานภาคการประชุมและภาคนิทรรศการ ได้ที่ https://researchexporegistration.com
ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน

** ติดตามข่าวสารและกิจกรรมของงาน ได้ทางเว็บไซต์ www.researchexpo.nrct.go.th และ www.nrct.go.th หรือ Facebook : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารกำหนดการได้ที่นี่

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์

ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการขอรับการสนับสนุนทุนส่งเสริม

การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ จากหน่วยบริหารและจัดการ

ทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)”

ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม

รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย

นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ รองประธานอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา

ภาคกลางตอนล่าง เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ

ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤทธิ์ ตรีอำนรรค และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล โชติกไกร

จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ที่ปรึกษาอาวุโส

หน่วย บพข. เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อเรื่อง “หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่ม

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (หน่วย บพข.)”

โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันการศึกษาในเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา

ภาคกลางตอนล่าง จำนวน 14 สถาบัน เข้าร่วมโครงการครั้งนี้

วันที่ 16 มิถุนายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ เข้าร่วม พิธีแถลงข่าวและมอบนโยบาย โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

วันที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 11:00 – 13:00 น.

ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับมอบหมายจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย สุทธะนันท์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้าร่วม พิธีแถลงข่าวและมอบนโยบาย โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) จาก ศาสตราจารย์(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และ นวัตกรรม
ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอว. ทั่วประเทศ

อังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง เข้าร่วมการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลางตอนล่าง

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 13.30 -16.00 น.
รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้าร่วมการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลางตอนล่าง
โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting
เพื่อรับทราบแนวทางพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ให้สามารถตรวจสอบวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ และนวัตกรรมเฉพาะทางในท้องถิ่นให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล รวมถึงยกระดับและเพิ่มมูลค่า วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ และนวัตกรรมที่มีเอกลักษณ์และเป็นอัตลักษณ์ มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการเติมเต็มในโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ อย่างครบวงจร พัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง (CAB) ในพื้นที่อย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้และบุคลากรด้าน ววน.

พุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง เข้าร่วมประชุมชี้แจงการเก็บข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) โครงการ U2T ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 – 12.00 น.
รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้าร่วมประชุมชี้แจงการเก็บข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) โครงการ U2T ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting
เพื่อรับทราบ วัตถุประสงค์ วิธีการเก็บข้อมูล และใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล TCD ในการวางแผนและพัฒนาพื้นที่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม


สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ ผศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local Enterprises หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) “การออกแบบข้อเสนอโครงการวิจัยภายใต้กรอบการวิจัยการพัฒนาขีดความสามารถ ของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น”

🏫🎓สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ ผศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local Enterprises หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) “การออกแบบข้อเสนอโครงการวิจัยภายใต้กรอบการวิจัยการพัฒนาขีดความสามารถ ของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น”

🌟โดยมี รศ.ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ กล่าวเปิดและเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

🗓️ระหว่างวันที่ 6 – 7 กุมภาพันธ์ 2566
🏫ณ ห้องประชุม สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

📣🎉ในกิจกรรมอบรมครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งคณาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร นักวิจัยเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่างและผู้ประกอบการ ได้รับความรู้ เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยฯ มุมมอง วิธีคิดในการทำวิจัย ที่ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น อีกทั้งยังร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสะท้อนมุมมองการทำวิจัยฯร่วมกันอีกด้วย 💭💡 👨‍🌾🌱

#SURIC
#บพท.
#LocalEnterprises
#ธุรกิจปันกัน

ขอเชิญร่วมการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง “ปลูกถ่ายแนวคิดการวิจัย สู่การชับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน”

ขอเชิญชวนเข้าร่วมการประชุมวิชาการและส่งบทความงานวิจัยเพื่อการนำเสนอผลงานวิจัย

ด้วยมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย กำหนดจัดการประชุมวิชาการระบบออนไลน์เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ ประจำปีการศึกษา 2564 หัวข้อ “Green ASIA and Sustainbility Forum: Innovation, Health Sciences and Digital Education Quality for Sustainable Development in the Next Normal “นวัตกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพ และคุณภาพการศึกษาเชิงดิจิทัลกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคมวิถีใหม่”  ”

โดยกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 รูปแบบการจัดประชุมวิชาการแบบ Virtual Online Conference เข้าร่วมกิจกรรมรับชมผ่านช่องทางออนไลน์  เว็บไซต์การประชุม https://conference.eau.ac.th เพื่อเป็นเวทีสาธารณะในการนำเสนอผลงานวิชาการและผลงานวิจัย ในประเด็น “นวัตกรรม วิทยาศาสตร์สุขภาพ และคุณภาพการศึกษาเชิงดิจิทัลกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคมวิถีใหม่”

โดยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่ เว็บไซต์ https://eau.ac.th   หรืออีเมล research@eau.ac.th

ขอเชิญชวนเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเขียนบทความวิชาการ/วิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ ประจำปี 2565

เนื่องด้วยการเผยแพร่บทความวิชาการและวิจัยในลักษณะต่างๆ อาทิ การประชุมวิชาการและวารสารทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและสังคม สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนจากเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเขียนบทความวิชาการ/วิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่  ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 25 และ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล : arm_nb080@hotmail.com โทรศัพท์ 080-597-2894