ประชาสัมพันธ์

Sri Lanka Technilogical Campus (SLTC) Research University ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อผลงานวิจัย และเข้าร่วมการประชุม ในหัวข้อ “Technological Advancement for Sustainability”

        Sri Lanka Technilogical Campus (SLTC) Research University ขอเชิญผู้สนใจส่งบทคัดย่อผลงานวิจัย และเข้าร่วมการประชุมระดับนานาชาติ 

ในหัวข้อ “Technological Advancement for Sustainability” ระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2565 ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถส่งบทคัดย่องานวิจัยพร้อม

เอกสารประกอบต่างๆได้ที่  https://easychair.org/conferences/?conf=irc2022 และลงทะเบียนที่ Irc2022.sltc.ac.lk ภายในวันที่ 15 กันยายนนี้

ขอเชิญส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนักบริหาร

👉ขอเชิญส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนักบริหาร

👉ด้วยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้จัดทำวารสารนักบริหาร เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในรูปแบบบทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ การบัญชี การตลาด การบริหารเชิงกลยุทธ์ การท่องเที่ยว การบริหารจัดการโรงแรม การสื่อสาร กฎหมาย และสังคมวิทยา โดยมีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ คือ ม.ค. – มิ.ย. และ ก.ค. – ธ.ค. ปัจจุบันวารสารฯ อยู่ในฐานข้อมูลของ TCI กลุ่มที่ 1 และอยู่ในฐานข้อมูล ACI

👉ผู้สนใจ สามารถส่งบทความได้ทางเว็บไซต์ 👉   ได้ที่นี่

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์อารีรัตน์ สุจิรปัญญา อีเมล areerat.su@bu.ac.th โทรศัพท์ 02 407 3888 ต่อ 2818

ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สีฝุ่นธรรมชาติ” ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการอนุรักษ์สืบสานจิตรกรรมไทยเทคนิคสีฝุ่น ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สีฝุ่นธรรมชาติ” ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการอนุรักษ์สืบสานจิตรกรรมไทยเทคนิคสีฝุ่น ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญ มุกดามณี คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง (ศิลปินแห่งชาติ) บรรยายพิเศษกล่าวถึงความสำคัญและทิศทางในการอนุรักษ์สู่โครงการวิจัยฯ พร้อมทั้งเขียนภาพสดด้วยสีฝุ่นธรรมชาติ

ในวันที่ 10 กันยายน 2565
ณ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ

 

โครงการวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมการอนุรักษ์สืบสานจิตรกรรมไทยเทคนิคสีฝุ่นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์” เป็นโครงการบูรณาการที่ได้รับทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยทีมผู้วิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุวัฒน์ ลัดดาวัลย์ จากคณะจิตรกรรมฯ
รองศาสตราจารย์วิรัญญา ดวงรัตน์ จากคณะจิตรกรรมฯ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธินี เกิดเทพ จากคณะวิทยาศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ เทพศุภรังษิกุล จากคณะวิทยาศาสตร์
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้จาก “สีฝุ่นธรรมชาติ” นำเสนอประวัติศาสตร์ กระบวนการสกัดสีฝุ่น กาวเมล็ดมะขาม และรองพื้นแบบไทยแนวประเพณี … นำกระบวนการวิทยาศาสตร์มาเพื่อเรียนรู้วิธีการทำงานของครูช่างโบราณ … ต่อ

ยอดสู่ “วิธี” ทำงานศิลปะด้วยสีฝุ่นในยุคปัจจุบัน

 

ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลสวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษา ได้รับมอบหมายจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย สุทธะนันท์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมการประชุมเรื่อง การจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์

ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลสวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษา ได้รับมอบหมายจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย สุทธะนันท์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้าร่วมการประชุมเรื่อง “การจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่เวทีโลก” จัดโดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา ร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ จังหวัดเชียงใหม่

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 น. ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมเปิดโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน : ระยะที่ 2”

       วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 น. ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร  และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ อว. ส่วนหน้า จังหวัดราชบุรีกล่าวต้อนรับ ท่านวิทยากร ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ และผู้เข้าร่วมโครงการ  

       เพื่อเปิดโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน : ระยะที่ 2” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี ฉายะบุตร คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหัวหน้าโครงการฯ  ณ โรงแรม ณ เวลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีเพื่อการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างกรอบแนวคิดทางธุรกิจด้วย การคิดเชิงออกแบบ (design thinking) และ Business model canvas ให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือก เข้าร่วมโครงการ ฯ ในพื้นที่ จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 ราย

ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้ารับรางวัล Silver Award research54

                ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้ารับรางวัล Silver Award ถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในกิจกรรม Thailand Research Expo 2022 Award พร้อมรับโล่ขอบคุณหน่วยงาน ในวันที่ 5 สิงหาคม 2565 จากการเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคนิทรรศการ เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน” ซึ่งดำเนินการวิจัยโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี ฉายะบุตร คณะวิทยาศาสตร์ และคณะนักวิจัยในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565” ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 22 เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ซึ่งผลงานวิจัยนี้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าเชิงวัฒนธรรมชุมชนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี

ขอเชิญชมการถ่ายทอดสด (Live) การนำเสนอผลงานวิจัยในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน”

         สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (สวนส.) ขอเชิญชมการถ่ายทอดสด (Live) การนำเสนอผลงานวิจัยในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 เรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน” ผ่าน Facebook ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำเสนอโดย รศ.ดร.สุพรรณี ฉายะบุตร คณะวิทยาศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย ในวันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 ณ บูธนิทรรศการ Al8 ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 

โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)

                  ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย และรองศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี ฉายะบุตร คณะวิทยาศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน” ร่วมเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)” ในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัล กรุงเทพฯ

 

                 โดยภายในงานดังกล่าว มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชน” ในภาคนิทรรศการ ภายใต้กลุ่มงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บูทนิทรรศการ AL8 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 22

ผู้สนใจเข้าร่วมงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานภาคการประชุมและภาคนิทรรศการ ได้ที่ https://researchexporegis.com

มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ขอเชิญนักวิจัยสมัครเพื่อรับทุนช่วยเหลือทางด้านงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ.2565

       มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย (TTSF) ได้ก่อกำเนิดในปี 2537 ด้วยเงินบริจาคจาก Toray Industries, Inc. โดยใช้เงินจำนวนนี้เป็นกองทุนถาวรเพื่อนำดอกผลมาใช้ในการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับเงินทุนทางด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมูลนิธิฯ 

       กิจกรรมหนึ่งของมูลนิธิ ได้แก่การมอบเงินทุนสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งทางมูลนิธิ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเงินทุนช่วยเหลือทางด้านงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับเงินทุนทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมูลนิธิฯ

บัดนี้ คณะกรรมการฯ พร้อมพิจารณาคัดเลือกผู้สมควรรับเงินทุนช่วยเหลือทางด้านงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 29 พ.ศ.2565 โดยส่งแบบฟอร์ม (ดังแนบด้านล่าง) ที่

        ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์

        ประธานคณะกรรมการเงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

        มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

        ฝ่ายเลขานุการ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

                                   เลขที่ 73/1 ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

                                   โทร 062 229 6468 (คุณเรณุกา) หรือ 02 266 6595 ต่อ 553 (คุณเสาวลักษณ์)

        กำหนดปิดรับสมัคร วันที่ 17 ตุลาคม 2565