ประชาสัมพันธ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุณณดา ภมรปฐมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย ได้รับมอบหมายจากอธิการบดี เข้าร่วมการประชุมเครือข่าย มหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (สัญจร) (SUN Thailand)

📍เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุณณดา ภมรปฐมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย ได้รับมอบหมายจากอธิการบดี เข้าร่วมการประชุมเครือข่าย มหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (สัญจร) (SUN Thailand) ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน และวิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ในฐานะประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์

ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการขอรับการสนับสนุนทุนส่งเสริม

การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ จากหน่วยบริหารและจัดการ

ทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)”

ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม

รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการวิจัย

นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ รองประธานอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา

ภาคกลางตอนล่าง เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ

ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤทธิ์ ตรีอำนรรค และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล โชติกไกร

จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

และได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ที่ปรึกษาอาวุโส

หน่วย บพข. เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อเรื่อง “หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่ม

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (หน่วย บพข.)”

โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันการศึกษาในเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา

ภาคกลางตอนล่าง จำนวน 14 สถาบัน เข้าร่วมโครงการครั้งนี้

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับการจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม (Best Scientists) โดย Research.com ประจำปี 2024

  1. ศ.ดร.ภก.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ คณะเภสัชศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับ Best Scientists สาขา Chemistry
  2. ศ.ดร.ภญ.ปราณีต โอปณะโสภิต คณะเภสัชศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับ Best Scientists สาขา Chemistry
  3. ศ.ดร.เสริม จันทร์ฉาย คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับ Best Scientists สาขา Environmental Sciences
    การจัดอันดับดังกล่าว อาศัยข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึง OpenAlex และ CrossRef โดยพิจารณาจาก D-index (Discipline H-index) ของนักวิจัย ซึ่งคำนวณเฉพาะสิ่งพิมพ์และการอ้างอิงภายในสาขาที่ศึกษาเท่านั้น

อ้างอิงข้อมูลจาก https://research.com/university/silpakorn-university

ขอแจ้งการขยายเวลาเปิดรับบทความและขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์การประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ ๑๗

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สมาคมพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและสังคม (สพช.) จัดการประชุมวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ ๑๗ ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และ ประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงเป็นเวทีให้นักวิจัยได้เผยแพร่ผลงานวิจัยออกสู่สาธารณชน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: หมายเลขโทรศัพท์: 09 6693 6550, 0 3810 2337

Email: nichuso2024@gmail.com

Website: https://nic2024.huso.buu.ac.th

https://nic2024.huso.buu.ac.th

ขอเชิญเข้าร่วมประชุม และนำเสนอบทความการประชุมวิชาการระดับชาติ

ด้วยสมาคมสิ่งแวดล้อมศึกษาแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สถาบันอณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสภาคณบดีคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: ปัญหา โอกาส และความท้าทาย (The Greater Mekong Subregion: Problems, Prospects, and Challenges) ในวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

https://human.lru.ac.th/th/

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประเมินผลกระทบทางสังคมและการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ (Roadmap to Success)” ณ ห้องประชุม 104 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

เมื่อวันเสาร์ที่ 25 – วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2567 เวลา 8.30 – 17.00 น. สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประเมินผลกระทบทางสังคมและการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ(Roadmap to Success)” ณ ห้องประชุม 104 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA)และการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) สามารถวัดผลทางสังคมจากโครงการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯโครงการได้รับเกียรติจาก นายเศรษฐภูมิ บัวทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย และพัฒนาเครื่องมือด้านการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI TU) วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ เป็นวิทยากรบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยคณาจารย์ นักวิจัย ที่ได้รับทุนวิจัยจากสาขาวิชาด้านทัศนศิลป์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จากภายในและภายนอกจำนวน 6 โครงการ

ขอเชิญคณาจารย์และคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

พัฒนาศักยภาพผู้ประเมินโครงการวิจัยที่ยื่นขอการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ประจำปี 2567

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2567 เวลา 9.00 – 16.00 น.

ณ สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์

หัวข้อที่บรรยาย

  • บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
  • แนวทางการทบทวนโครงการวิจัย
  • การพิจารณาส่วนแก้ไขเพิ่มเติมโครงการวิจัย

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการอบรม

  • ผู้เข้าร่วมการอบรมต้องเคยได้รับการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ หรือ GCP หรือ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

เงื่อนไขในการได้รับใบประกาศนียบัตร

  • ผู้เข้าร่วมการอบรมต้องเข้ารับการอบรมทุกหัวข้อ
  • ผู้เข้าร่วมการอบรมต้องส่งแบบประเมินความพึงพอใจ

ปิดรับลงทะเบียน วันที่ 7 มิถุนายน 2567

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณพัชรณัฏฐ์, คุณวารี, คุณตปนีย์ โทร 098-5479738 หรือ 216004 (ในเวลาราชการ)

เชิญเข้าร่วมโครงการอบรม เรื่อง“การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานสากล”

📌ขอเชิญคณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายโครงการอบรม เรื่อง“การเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานสากล” 🗓วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ⏰เวลา 09.30-15.00 น. 🎥ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยสมัครลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2567 (เวลา 12.00 น.)

  1. สมัครได้ที่ลิ้งค์ https://forms.gle/8nxTUrWDCGs4wQ9q9 หรือ QR Code ตามโปสเตอร์ด้านล่าง

2.เอกสารโครงการและกำหนดการ คลิกที่นี้

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนโครงการวิจัยเพื่อนำนวัตกรรมองค์ความรู้มาต่อยอดและขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพานิชย์”

📢วันเสาร์ที่ 11 และวันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2567

🍀รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ประธานคณะอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนโครงการวิจัยเพื่อนำนวัตกรรมองค์ความรู้มาต่อยอดและขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพานิชย์” ซึ่งในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมนมาลย์ เนียมหลาง รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองศาสตราจารย์ ดร.อนินท์ มีมนต์ อาจารย์ ดร.วลัญช์รัก พุ่มชลิต และรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

📍โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และสถาบันการศึกษาในเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง รวมถึงผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้