admin_suric

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการอบรม “AI Writer กับการเขียนบทความทางวิชาการ”

📢สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการอบรม “AI Writer กับการเขียนบทความทางวิชาการ”🗓️ในวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2567🕐เวลา 09.00 – 12.00 น.🖥️ผ่านทางโปรแกรม Zoom Meeting🚩โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ภายใต้โครงการ “การพัฒนาระบบและปรับปรุงคุณภาพวารสารไทยในฐานข้อมูล Scopus ระยะที่ 2 : วารสาร Humanities, Arts and Social Sciences Studies” ✨🍀ทางโครงการอบรม ฯ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุณณดา ภมรปฐมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวเปิดการอบรม ฯ และรองศาสตราจารย์ ดร.สุเพชร จิรขจรกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากรอบรม ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถใช้เทคโนโลยี AI ในการเขียนบทความทางวิชาการได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามจริยธรรม

โครงการสัมมนาการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 เวลา 8.30 – 16.30 น.

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญคณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วม🍀โครงการสัมมนาการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยวันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 เวลา 8.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐมวิทยากรโดย📌ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาดา ไชยสวัสดิ์📌นายอมรเทพ คุมสุข 📌นายเจนวิทย์ ทิพย์ประเสริฐ ⏩ ศูนย์การจัดการด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (EESH) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี🎇ดาวน์โหลดโครงการและสมัครได้ที่ https://forms.gle/jyxVsqYpp4tAqyQ78💥ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 12.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วริยวัลย์ (อุ๋ย) สำนักงานบริหารการวิจัยฯ เบอร์ภายใน 216005 หรือเบอร์ภายนอก 0616284101 อีเมล research.inst54@gmail.com

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการสร้างเครือข่ายการวิจัยด้าน Agro-Food Waste ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

📢สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นในการสร้างเครือข่ายการวิจัยด้าน Agro-Food Waste ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

🗓️วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2567🕐เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป

📲ผ่านระบบ Zoom Meeting

📍ลงชื่อเข้าร่วมได้ที่ https://forms.gle/e7PMXtU6DDurMwTW7

☎️สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วริยวัลย์ (อุ๋ย) สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ เบอร์ภายใน 216005 หรือเบอร์ภายนอก 0616284101 อีเมล research.inst54@gmail.com

โครงการอบรมสัมมนา เรื่อง “ความปลอดภัยทางชีวภาพกับงานวิจัย” วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2567 เวลา 8.30 – 16.00 น. สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการจัดโครงการอบรมสัมมนา เรื่อง “ความปลอดภัยทางชีวภาพกับงานวิจัย” ณ ห้องประชุมเจดีย์ 1 โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม

โครงการอบรมสัมมนา เรื่อง “ความปลอดภัยทางชีวภาพกับงานวิจัย”

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2567 เวลา 8.30 – 16.00 น.
สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการจัดโครงการอบรมสัมมนา เรื่อง “ความปลอดภัยทางชีวภาพกับงานวิจัย” ณ ห้องประชุมเจดีย์ 1 โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพชัย พัฒน์โรจนโสภณ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวเปิดโครงการฯ และได้รับเกียรติจาก คุณพัฒนา เอี่ยมกระสินธุ์หัวหน้างานส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัย และคุณอัญชุลี วัชรมุสิก หัวหน้างานบริหารและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จากศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล

การจัดโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ สามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก (World’s Top 2% Scientists) ประจำปี 2024 โดย Stanford UniversityReference: Ioannidis, John P.A. (2024), “August 2024 data-update for “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators””, Elsevier Data Repository, V7.

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก (World’s Top 2% Scientists) ประจำปี 2024 โดย Stanford UniversityReference: Ioannidis, John P.A. (2024), “August 2024 data-update for “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators””, Elsevier Data Repository, V7.

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย : การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การส่งข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนงานมูลฐานผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System : NRIIS)

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย : การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การส่งข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนงานมูลฐานผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System : NRIIS) ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2301 ชั้น 3 สำนักดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุณณดา ภมรปฐมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวเปิดโครงการฯและได้รับเกียรติจาก คุณศยามน ไชยปุรณะ ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิเคราะห์ประมวลผล และบูรณาการข้อมูลสารสนเทศสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นวิทยากรในครั้งนี้

การจัดโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักวิจัยและผู้ประสานงานโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการการใช้งานระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการงานวิจัยที่เป็นปัจจุบัน ได้แก่ ระบบ NRIIS และ ORIIS สามารถนำข้อมูลเข้าระบบได้ถูกต้องและครบถ้วน